มาตรฐานทางด้านการควบคุมไฟฟ้าสถิตย์ สำหรับสารไวไฟ

0 Comments

ประกาศกระทรวงพลังงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์ พ.ศ. 2559

————————-

1. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป          

2. คลังน้ำมัน สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม สถานีบริการน้ำมันประเภท ก สถานีบริการน้ำมันประเภท ข สถานีบริการน้ำมันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมันประเภท จ ลักษณะที่สอง และสถานีบริการน้ำมันประเภท ฉ ต้องจัดให้มีการป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์ ในบริเวณ ดังนี้

           (1) ระบบท่อรับน้ำมัน ท่อจ่ายน้ำมัน และท่อระบายไอน้ำมัน

           (2) บริเวณที่มีการบรรจุน้ำมันลงภาชนะบรรจุน้ำมัน

           (3) ระบบท่อระบายไอน้ำมันของระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง

 3. การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์ในบริเวณตามข้อ 2 ต้องมีลักษณะ ดังนี้

           (1) ต้องมีการเชื่อมต่อเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้าอย่างเพียงพอและมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าโดยตลอด

           (2) ตัวนำลงดินต้องทําด้วยทองแดงชนิดตีเกลียว มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 16 ตารางมิลลิเมตร หรืออะลูมิเนียมชนิดตีเกลียว มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 25 ตารางมิลลิเมตร เพื่อป้องกันความเสียหาย จากการหักงอ

           (3) ตัวนำประสานต้องเป็นวัสดุชนิดที่นําไฟฟ้าและมีค่าความต้านทานไม่เกิน 10 โอห์ม

           (4) ค่าความต้านทานของรากสายดิน ต้องมีค่าไม่เกิน 10 โอห์ม

           (5) ต้องมีจุดต่อลงดินเพื่อถ่ายเทไฟฟ้าสถิตย์จากรถขนส่งน้ำมัน หรือรถไฟขนส่งน้ำมัน

           (6) ระบบท่อน้ำมัน และอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ต้องทําการต่อตัวนำประสานและต่อรากสายดิน

           (7) ระบบท่อน้ำมัน และอุปกรณ์ที่เป็นอโลหะ ซึ่งใช้งานอยู่ในบริเวณที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมัน ต้องออกแบบและใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟจากไฟฟ้าสถิตย์

           (8) บริเวณที่ต่อตัวนำประสาน จุดต่อลงดินและที่คีบจุดต่อลงดิน ต้องมีความสะอาด และไม่มีการทาสี

4. ก่อนการถ่ายเทน้ำมันระหว่างรถขนส่งน้ำมันหรือรถไฟขนส่งน้ำมันกับถังเก็บน้ำมัน ต้องต่อตัวนำประสานเข้ากับจุดต่อลงดิน และปลดออกภายหลังการถ่ายเทน้ำมันเสร็จสิ้น เว้นแต่รถไฟขนส่งน้ำมัน ที่มีการถ่ายเทประจุไฟฟ้าผ่านรางรถไฟที่ต่อรากสายดินไว้แล้ว

5. ก่อนที่จะทําการบรรจุน้ำมันลงภาชนะบรรจุน้ำมัน ต้องต่อตัวนำประสานจากจุดต่อลงดิน เข้ากับภาชนะบรรจุน้ำมัน และปลดออกภายหลังการบรรจุน้ำมันเสร็จสิ้น หรือทําการลดการสะสม ของประจุไฟฟ้าด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม

ให้ไว้ ณ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

เล่ม 133 ตอนพิเศษ 126 ง ราชกิจจานุเบกษา 2 มิถุนายน 2559

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Posts

ความรู้เกี่ยวกับ “ไฟฟ้าสถิตย์” และ “ESD”

ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์หรือที่เราเรียกกันว่า “ESD” เป็นคำพูดที่เราคุ้นหูและได้ยินกันบ่อยๆในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เรารู้ความหมายหรือไม่ครับว่ามันหมายความว่าอย่างไร และมันมีผลกระทบอะไรบ้าง ณ ปัจจุบันนี้ในหลายๆ อุตสาหกรรม มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าสถิตย์ เกือบทั้งนั้น ถ้ายกตัวอย่างอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา ณ…