ความรู้เกี่ยวกับ “ไฟฟ้าสถิตย์” และ “ESD”

0 Comments

Q(Charge) = C(capacitance) x V(Voltage)

# Q คือ คือประจุ

# C คือ ความสามารถในการเก็บประจุ มีหน่วยเป็น ฟารัด

# V คือ คือศักย์ไฟฟ้า 

1.ในพื้นที่การผลิตที่ควบคุมไฟฟ้าสถิตย์นั้นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องเป็นวัตถุที่สามารถถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตย์ได้และหลีกเลี่ยงการนำวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้ามาใช้งาน 

2.ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ให้อยู่ในระดับที่สูง ซึ่งวิธีการนี้อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับค่าไฟฟ้าของตัว Chiller

3.คนทำงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร หรือวัสดุที่อยู่ใกล้หรือสัมผัสเกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีความไวต่อการเสียหายจากไฟฟ้าสถิตย์ (ESDS) จำเป็นต้องมีการต่อกราวด์เพื่อป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์

4.ต้องมีการตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมและป้องกันไฟฟ้าสถิตย์อย่างต่อเนื่อง

5.ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Air Ionizer ในการลดไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นกับกระบวนการผลิต

1. Grounding วัสดุหรืออุปกรณ์อะไรที่สามารถต่อกราวด์ได้ให้ต่อให้หมด แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรต่อได้ผมจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป

2. Humidity ให้ควบคุมความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

3. Shielding การขนส่งหรือขนย้ายผลิตสินค้าต้องมีการ Shield หรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุป้องกันไฟฟ้าสถิตทุกครั้ง

4. Air Ionizer วัสดุหรืออุปกรณ์อะไรก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติหรือควบคุมให้อยู่ใน 3 หัวข้อแรกได้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่อง Air Ionizer ในการแก้ปัญหาสิครับ

ESD Symbol_2
สัญลักษณ์ทางด้านไฟฟ้าสถิตย์ ที่บ่งชี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีผลิตภัณฑ์ที่มีไวทำให้เกิดความเสียหายจาก ไฟฟ้าสถิตย์

1. Conductive คือ วัสดุที่มีความต้านทานตั้งแต่ 0 โอห์ม – 1000 โอห์ม สามารถใช้งานในพื้นที่ควบคุมไฟฟ้าสถิตย์ได้

2. Dissipative คือ วัสดุที่มีความต้านทานตั้งแต่ 1000 โอห์ม – 1 Giga โอห์ม สามารถใช้งานในพื้นที่ควบคุมไฟฟ้าสถิตย์ได้

3. Insulative คือ วัสดุที่มีความต้านทานมากกว่า 1 Giga โอห์มขึ้นไป ไม่สามารถนำมาใช้งานในพื้นที่ควบคุมไฟฟ้าสถิตย์ได้ ยกเว้น ชุด Smock และ Packaging บางชนิดเท่านั้น

1. ในระยะที่มากกว่า 30 ซม. จากอุปกรณ์ที่ไวต่อความเสียหายจากไฟฟ้าสถิตย์ (ESDS) มีประจุไฟฟ้าสถิตย์ได้มากกว่า 2,000 โวลท์

2. ในระยะที่น้อยกว่า 30 ซม. แต่มากกว่า 2.5 ซม. จากอุปกรณ์ที่ไวต่อความเสียหายจากไฟฟ้าสถิตย์ (ESDS) มีประจุไฟฟ้าสถิตย์ได้ ตั้งแต่ 125 โวลท์ – 2,000 โวลท์

3. ในระยะที่น้อยกว่า 2.5 ซม. จากอุปกรณ์ที่ไวต่อความเสียหายจากไฟฟ้าสถิตย์ (ESDS) มีประจุไฟฟ้าสถิตย์ได้ ไม่เกิน 125 โวลท์

ซึ่งรายละเอียดทางด้านการควบคุมไฟฟ้าสถิตย์ ยังมีเนื้อหาและรายละเอียดอีกมากครับ แต่ที่ผมได้เขียนมาเบื้องต้นก็เป็น พื้นฐานที่ผู้อ่านทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์ได้ในระดับนึง แต่ถ้าต้องการข้อมูลทางด้านไฟฟ้าสถิตย์เพิ่มเติม
ทางบริษัท อีเอสดี คอนโทรล จำกัด ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำนะครับ หรือ อยากจัดอบรม สัมนา ทางด้านไฟฟ้าสถิตย์ ตรวจสอบระบบ ESD ที่ใช้งานอยู่แล้วว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ทางเราก็มีบริการทุกรูปแบบนะครับ ยังไงก็ลองโทรมาคุย มาปรึกษา ตามรายละเอียดการติดต่อที่ได้ลงไว้ใน Website ของบริษัทเราได้เลยนะครับ

บริษัท อีเอสดี คอนโทรล จำกัด (สำนักงานใหญ่)
121/63 หมู่บ้านแกรนด์วัลเลย์  หมู่ที่ 3  ตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20130
โทรศัพท์ : 087-8281114
เลขที่ผู้เสียภาษี : 0205564009949
E-mail: sale.esdc@gmail.com

Website: https://www.esd-iot.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Posts

มาตรฐานทางด้านการควบคุมไฟฟ้าสถิตย์ สำหรับสารไวไฟ

0 Comments

ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตย์ พ.ศ. 2559 ------------------------- 1. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป           2. คลังน้ำมัน สถานที่เก็บรักษาน้ำมัน ลักษณะที่สาม…